ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบ ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ก่อให้เกิดภาวการณ์ว่างงานเพิ่มมากขึ้น คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงกำหนดนโยบายหลักในการบำรุงความสุขของ ราษฎรในทางเศรษฐกิจและหางานให้ราษฎรทุกคน เพื่อมุ่งเน้นขจัดปัญหาการว่างงาน ดังนั้น จึงมีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ. 2475 พร้อมกับการปรับปรุงกฎหมายด้านแรงงานและจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาบริหาร ให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยแผนกจัดหางาน กองทะเบียน กรมปลัดกระทรวงมหาดไทย นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีบทบาทในการบริหารแรงงานอย่างชัดเจน
นับแต่นั้นเป็นต้นมา หน่วยงานด้านบริหารแรงงานจึงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยปริมาณงานในด้านแรงงานที่ขยายตัวมาโดยตลอด เมื่อเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509) หน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านบริหารแรงงานขณะนั้นคือ กองแรงงานจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นส่วนแรงงานในปี พ.ศ. 2505 และในปี พ.ศ. 2508 ได้รับการยกฐานะเป็นกรมแรงงานภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่ในการบริหารแรงงาน การคุ้มครองแรงงาน การแรงงานสัมพันธ์ การพัฒนาฝีมือแรงงาน การจัดหางาน และกองทุนเงินทดแทนต่อมาในปีพ.ศ. 2533 รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าแรงงานควรมีความมั่นคงในชีวิตด้วยระบบประกันสังคม จึงได้จัดตั้งสำนักงานประกันสังคม และโอนภารกิจด้านกองทุนเงินทดแทนของกรมแรงงานให้กับสำนักงานประกันสังคม
ภารกิจของกรมแรงงานได้ทวีความสำคัญมากขึ้นโดยลำดับ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา รัฐบาลหลายสมัยได้พยายามยกฐานะกรมแรงงานขึ้นเป็นกระทรวงแรงงาน แต่ประสบกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทุกครั้ง จนกระทั่งวันที่ 28 มกราคม 2535 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยุบเลิกกรมแรงงานและจัดตั้งหน่วยงานในสังกัด กระทรวงมหาดไทยขึ้นใหม่ 2 หน่วยงาน คือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทำหน้าที่ดูแล รับผิดชอบบริหาร การคุ้มครองแรงงานและการแรงงานสัมพันธ์ และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ บริหารงานการ ส่งเสริมการมีงานทำ ได้แก่ การพัฒนาฝีมือแรงงาน และการจัดหางาน พร้อมทั้งอนุมัติในหลักการให้เตรียมดำเนินการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคมต่อไป
การดำเนินการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2536 โดยรัฐบาลได้ ตราพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบางส่วนของกระทรวง มหาดไทยไปเป็นของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2536 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2536 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงได้เป็นส่วนราชการภายใต้สังกัดกระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคม
ในช่วงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและแรงกดดันต่างๆ ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมภายใน ประเทศ ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 เห็นชอบ ให้มีแผนปฏิรูประบบบริหารราชการภาครัฐ เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบบริหารภาครัฐไปสู่รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดรูปแบบการจัดโครงสร้างและปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานใหม่ให้ ชัดเจน เป็นผล ให้มีการปรับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมไปเป็นกระทรวงแรงงาน โดยโอนงานด้านประชาสงเคราะห์ไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ ดังนั้น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน นับ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545 เป็นต้นมา
เทพบดีองค์กลาง พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ พระหัตถ์ขวาประสาทพร มีหน้าที่รักษา ความเป็นธรรมเปรียบเสมือนรัฐบาล
ซึ่งทำหน้าที่รักษาความเป็นธรรมและอำนวยประโยชน์สุข ให้แก่ประชาชน โดยมีกฎหมายเป็นเครื่องมือ
เทพบดีผู้อยู่เบื้องขวา พระหัตถ์ขวาถือม้วนสารา หมายถึง นายจ้าง
เทพบดีผู้อยู่เบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาถือผึ่ง พระหัตถ์ซ้ายถือดิ่ง หมายถึง ลูกจ้าง
เทพบดีทั้งสามองค์เหาะลอยเปล่งรัศมีอยู่เหนือลายเมฆภายในวงกลมเดียวกัน ซึ่งมายถึง ความสามัคคี ร่วมแรง ร่วมใจกันทุกฝ่าย
เพื่อความเจริญก้าวหน้าในกิจการันมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชาติ
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรหลักในการสร้างแรงงานสมานฉันท์ มั่นคงและปลอดภัย
พันธกิจ
ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : เสริมสร้างการคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงาน
กลยุทธ์
1. เร่งรัด กำกับดูแล และส่งเสริมสถานประกอบกิจการ/ผู้ว่าจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
2. กำกับดูแลและส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการ/รัฐวิสาหกิจ/หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง มีการจัดการ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3. สร้างเสริมเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
4. ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคม และพัฒนาการด้านแรงงาน
5. เร่งรัดแก้ไขปัญหาด้านแรงงานได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
6. รณรงค์ให้แรงงาน/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายแรงงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน
กลยุทธ์
1. พัฒนาสวัสดิการแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ
2. พัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายด้านแรงงาน
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการเงินกองทุนความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพบนหลักการแรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี
4. พัฒนาระบบและการบริหารจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์
5. พัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและองค์กรด้านแรงงาน
6. เสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายด้านแรงงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงาน
กลยุทธ์
1. ปรับปรุงระบบการตรวจประเมินเพื่อการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย
2. ส่งเสริมและพัฒนาให้สถานประกอบกิจการธำรงรักษาระบบรับรองมาตรฐานแรงงานไทยและพัฒนาอย่างยั่งยืน
3. พัฒนามาตรฐานการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
4. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการตามข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย
5. ส่งเสริมและพัฒนานายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ด้านแรงงาน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาการบริหารจัดการของกรม
กลยุทธ์
1. ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ
2. พัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างสมรรถนะ
3. พัฒนาระบบ ICT เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานและให้บริการ
4. สร้างเสริมวัฒนธรรมองค์กร
5. เร่งรัด/กำกับการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน
6. ติดตาม/เร่งรัดให้มีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
7. ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านแรงงานเพื่อการบริหารจัดการ